วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่3

วิถีไทย : ความรู้เรื่องชีวิตของคนไทย
Thai Language
 วิถีไทย หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย วิถีไทย จึงเป็นแหล่งรวมความรู้เรื่องสังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของคนไทย การประพฤติ ปฏิบัติ การศึกษาอบรม และการสืบทอดวัฒนธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
English Language
วิถีไทยที่จะกล่าวถึง มีดังนี้
1. ขนบธรรมเนียมประเพณี
2. การละเล่นพื้นบ้าน รวมไปถึงละคร ระบำ การเล่นของเด็ก
3. ศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานฝีมือ
4. นิทาน ตำนาน ประวัติ เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ความเชื่อ โชคลาง ภาษา วรรณกรรม
    กระต่ายกับหอยขม
5. งาน อาชีพ เครื่องมือทำมาหากิน
6. การท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ
7. อาหารและเครื่องนุ่งห่ม



วิถีไทยปัจจุบัน
ปุ่มต่อไปนี้บอกความเคลื่อนไหวที่เป็นปัจจุบัน ท่านสนใจกดค้นหาความรู้หรือความเคลื่อนไหวได้



ภาพไทยปุ่มภาพไทย แสดงภาพเขียนชีวิตไทย
ไทยวิทยาปุ่มไทยวิทยา คือ ห้องสมุด
ไทยสาสน์ ปุ่มไทยสาส์น คือ ถาม-ตอบและฝากข่าวประชาสัมพันธ์
ไทยญาติปุ่มไทยญาติ คือ สมุดเยี่ยม
เจตนารมณ์
     เว็บไซด์วิถีไทยมุ่งเพื่อการศึกษาให้คนไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลก ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตคนไทย ความรู้ที่เสนอจะมีหลักฐาน แหล่งค้นคว้า และข้อมูลอ้างอิงเสมอ สามารถสืบค้นหรือหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ การอ้างอิงจัดทำอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าทำรายงาน เพื่อให้เกียรติ และประกาศเกียรติคุณเจ้าของผลงานที่นำมาอ้างอิง ณ.ที่นี้ด้วย
     ผู้รู้ท่านใดเห็นว่าความรู้เรื่องไทยของท่านมีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ กรุณาส่งข้อมูลต่างๆเข้ามา เรายินดีรับและเสนอต่อประชาคมโลก เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

หน่วยที่4








พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 

                                   พระราชประวัติ



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง  ประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙  พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี พระมารดาชื่อ หยก
                เมื่อทรงมีพระชันษา ๒๑ พรรษา  ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ๓ เดือน  เมื่อลาสิกขาก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร  ประจำเมืองราชบุรี  พระองค์ทรงมีความชำนาญในการรบอย่างยิ่ง  จึงได้รับพระราชทานปูนกำเหน็จความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์  พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราชว่าที่สมุหนายก  เจ้าพระยาจักรี  และในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก   มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม  เมื่อทรงตีได้เวียงจันทร์   พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)  จากเมืองจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย  ต่อมาเกิดเหตุจลาจลได้สำเร็จ  ข้าราชการและประชาชนจึงอัญเชิญเป็นพระมหากษัตริย์แทนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

                                     พระราชกรณียกิจ

           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม  ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมืองโปรดเกล้าฯ
                  - ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง คือ กฎหมายตราสามดวง
                 - รวมถึงการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์อันเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์
                  - นอกจากนี้พระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ  ทั้งด้านวรรณกรรมที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์  โดยพระราชนิพนธ์  บทละครเรื่องรามเกียรติ์  บทละครเรื่องอุณรุท  บทละครเรื่องอิเหนา  บทละครเรื่องดาหลัง  เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง  นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงส่งเสริมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และนาฏกรรม
                 - ภายหลังที่ครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง ๓ ปี  ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย  พระองค์ทรงจัดกองทัพต่อสู้จนทัพพม่าแตกพ่าย  ยังความเป็นเอกราชให้กับแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย เป็น มหาราช อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์  ที่ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขจวบจนปัจจุบัน







พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



                        พระราชประวัติ        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒  กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗  ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะเสด็จสวรรคตนั้น  พระองค์มิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้านายพระองค์ใด  ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงปรึกษายกราชสมบัติให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ฝ่ายเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชตามราชประเพณีก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน จึงได้ดำรงอยู่ในสมณเพศต่อไปถึง ๒๖ พรรษา ทำให้พระองค์มีเวลาทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างมากมาย  โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เป็นเหตุให้ทรงทราบเหตุการณ์โลกภายนอกอย่างกระจ่างแจ้ง  ทั้งยังได้เสด็จธุดงค์จาริกไปนมัสการปูชนียสถานตามหัวเมืองห่างไกล ที่ทำให้ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี               
               เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงมีมติให้อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์สมบัติ ในวันที่  ๒  เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔  ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา  

                                    พระราชภารกิจที่สำคัญ

           - การทำสนธิสัญญากับอังกฤษ  เพื่อแลกกับเอกราชของประเทศ  ยอมให้ตั้งสถานกงสุลและมีสิทธิสภาพนอกราชอาณาเขต  ยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี  เก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยชักสาม
                  - ทรงปรับปรุงการรักษาความมั่นคงของประเทศ  มีการตั้งข้าหลวงปักปันพระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันตกร่วมกับอังกฤษ  ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาสำรวจทำแผนที่พระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันออก  จ้างนายทหารยุโรปมาฝึกสอนวิชาทหารแบบใหม่  ทรงให้ต่อเรือกลไฟขึ้นใช้หลายลำและผลจากการทำสัญญากับอังกฤษทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมาก
                  - พระองค์จึงขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก  ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนขึ้นมากมาย เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร
                 - ได้เกิดกิจการแบบตะวันตกขึ้นหลายอย่าง เช่น ใช้รถม้าเดินทาง มีตึกแบบฝรั่ง มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ  ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา  ตั้งโรงกษาปณ์ ฯลฯ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา  เพราะทรงเห็นว่าไม่มีผลต่อกิจการแผ่นดิน
                 - พระองค์ได้ทรงบัญญัติกฎหมายขึ้นเกือบ 500 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เต็มไปด้วยมนุษยธรรม
                - พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงยอมรับวิชาการทางตะวันตกมาใช้ เช่น การถ่ายรูป การก่อสร้าง และงานเครื่องจักร เป็นต้น  ทั้งยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านดาราศาสตร์ คือ ทรงคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย  ที่ตำบลหว้ากอ  แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์  ได้ว่าจะเกิดขึ้นวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑  เวลา ๑๐.๓๒ นาฬิกา  เวลาดวงอาทิตย์มืดเต็มดวง  คือ ๖ นาที ๔๖ วินาที และเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริงตามที่ทรงคำนวณไว้ทุกประการ

               ในการเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้นทำให้พระองค์ประชวรด้วยไข้จับสั่นอย่างแรง และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑  ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑  สิริพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา  รวมเวลาครองราชย์ได้ ๑๗ ปีเศษ







พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                           พระราชประวัติ
                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔  และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี  พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖  มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เสวยราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
                ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงบรรลุนิติภาวะ  พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี  สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

 พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

        เพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและรอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมที่กำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ขณะนั้น  รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาและปรับปรุงประเทศทุกด้าน เช่น 
การปกครอง
                ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก  แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือการปกครองส่วนกลาง  แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบเทศาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล กฎหมายและการศาล
                ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม  เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก  ยกเลิกจารีตนครบาล
                ที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ  ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย  การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในภายหลัง 
สังคมและวัฒนธรรม 
               ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต  ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย  และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา 
การเงิน การธนาคารและการคลัง
                ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔  ทำให้เศรษฐกิจการค้าขยายตัว  มีชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยมากขึ้น  รัชกาลที่ ๕  จึงให้ออกใช้ธนบัตรและมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก  ทรงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขาและสนับสนุนให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น  ในด้านการคลัง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก  และปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพขึ้น 
สาธารณูปโภค
                ทรงให้สร้างถนนเพิ่มเติม ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิม  เพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก  ทรงริเริ่มให้จัดกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น รถไฟ  รถราง  โทรเลข  ไปรษณีย์  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  ประปา  การ
แพทย์และการสาธารณสุข
                ทรงปรับปรุงกิจการด้านนี้ให้เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช)  สภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)  กรมสุขาภิบาล  โรงเรียนสอนแพทย์  โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล  เป็นต้น 
ารศึกษา
                มีการสร้างโรงเรียนหลวง  เพื่อให้การศึกษาแก่ราษฎรและทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาก็เพื่อฝึกคนให้มีความรู้สำหรับเข้ารับราชการ               
การศาสนา 
               โปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์  จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์ คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย  และให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก 
การทหาร
                ทรงปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย  ตั้งกรมยุทธนาธิการซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม  ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก  โรงเรียนนายเรือ  และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
                ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  เนื่องจากในขณะนั้นคนไทยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ยังมีน้อย รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ส่งวนใหญ่เป็นชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ  อเมริกัน  เยอรมัน ฝรั่งเศส  เบลเยียม  เดนมาร์ก  ที่เป็นชาวตะวันออกก็มีอยู่บ้าง เช่น ญี่ปุ่น  ลังกา  ปรากฏว่าชาวต่างประเทศที่จ้างมาทำงานได้ผลดีสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก  บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา เจ้าพระยานอกจากนี้รัชกาลที่ 5  ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ  โดยได้เสด็จประพาสสิงคโปร์ของอังกฤษและเกาะชวาอาณานิคมของฮอลันดา  ต่อมาเสด็จประพาสอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  ทรงนำความเจริญของดินแดนเหล่านี้มาประกอบในการพัฒนาประเทศไทย
                ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๑  เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ  กว่า ๑๐ ประเทศ  เป็นผลดีต่อฐานะของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ๒ - ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒  เพื่อเยี่ยมพระราชโอรสที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ  และรักษาพระองค์ตามที่แพทย์ถวายคำแนะนำ  ในโอกาสเดียวกันทรงได้เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับประเทศต่าง ๆ ด้วย  แม้ว่ารัชกาลที่ ๕  จะทรงพัฒนาประเทศทุก ๆ  ด้าน และพยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจรอดพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมโดยสิ้นเชิง  ดังเช่นเกิดพิพาทกับฝรั่งเศสจนถึงขั้นปะทะกันที่ปากน้ำ สมุทรปราการ  ซึ่งเรียกว่าเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)  เป็นต้น  รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ  เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้   ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง  จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า  พระปิยมหาราช  อันหมายถึงว่า  ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย  และในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ พรรษาแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือยูเนสโก (UNESCO)  ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญและมีผลงานดีเด่นของโลกทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและสื่อสาร